วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558




พลังงานไฟ้ฟ้า

        พลังงาน คือ ความสามารถที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือทำงานได้ ดังนั้น การที่สิ่งที่มีชีวิต เช่น คน สัตว์ สามารถเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด ยกสิ่งของ หรือสามารถทำงานประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ จึงมีพลังงานเกิดขึ้น พลังงานที่อยู่ในมนุษย์และสัตว์นั้นเกิดจากการที่เราได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปในร่างกาย




ประเภทของพลังงาน
แหล่งกำเนิดของพลังงานมี 2 ประเภท คือ พลังงานจากธรรมชาติกับพลังงานประดิษฐ์
พลังงานจากธรรมชาติ คือ พลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น พลังงานจากดวงอาทิตย์ พลังงานจากน้ำตก พลังงานจากลม พลังงานจากสัตว์ ฯลฯ

พลังงานจากธรรมชาตื

พลังงานประดิษฐ์ คือ พลังงานที่มนุษย์แปรรูปมาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานไฟฟ้าตามบ้านเรือน พลังงานไฟฟ้าเคมีในแบตเตอรี่ พลังงานกลซึ่งเป็นพลังงานที่เกิดจากวัตถุที่อยู่ในสภาพต่างๆ เช่น วัตถุหมุน วัตถุเคลื่อนที่ ฯลฯ


พล้งงานประดิษฐ์


พลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า คือ พลังงานที่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ตามอาคารสถานที่ สามารถใช้งานได้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต และเพื่อประโยชน์ในการใช้งานในด้านต่างๆ เช่น ให้แสงสว่าง ให้ความร้อนในการหุงข้าวต้มอาหาร ให้ความอบอุ่นและความเย็น หรือให้ความบันเทิง ฯลฯ

      ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือ ไฟฟ้าจากเซลไฟฟ้า เป็นพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีและเป็นพลังงานที่มนุษย์สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งนำมาใช้งานได้เหมือนไฟฟ้าตามบ้านเรือน
ดังนั้น เราจะเห็นว่า ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ก็สามารถทำให้ของเล่นของใช้ทำงานได้ เมื่อเราต่อหลอดไฟฟ้าเข้ากับแบตเตอรี่ก็จะให้แสงสว่างได้ แสดงว่า ไฟฟ้าเป็นพลังงานเช่นเดียวกับไฟฟ้าตามบ้าน แต่สามารถเคลื่อนย้ายไปในที่ต่างๆ ได้สะดวก รูปแบบของแบตเตอรี่มีความหลากหลายทั้งรูปแบบ และขนาดที่แตกต่างกันไป เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ ถ่ายไฟฉาย แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่นาฬิกาข้อมือ ฯลฯ
ตัวอย่างง่ายๆ ได้แก่ แบตเตอรี่ที่เป็นถ่านไฟฉาย น้องๆ มารู้จักกับเจ้าก้อนแบตเตอร์รี่ของถ่ายไฟฉาย ว่า ถ่าน 1 ก้อนนั้น มีส่วนประกอบอะไรบ้าง


ถ่ายไฟฉายมีส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน
ส่วนภายนอก ประกอบด้วย สังกะสีหรือพลาสติกหุ้มส่วนภายในไว้
ส่วนภายใน ประกอบด้วย แท่งถ่าน ผงถ่าน และสารเคมีที่เป็นตัวนำไฟฟ้า
เมื่อต่อถ่านไฟฉายให้ครบวงจรจะเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นให้กระแสไฟฟ้า จากนั้นเรามาดูการต่อหลอดไฟฟ้าเข้ากับแบตเตอรี่


การต่ออุปกรณ์ดังรูปนี้ เราเรียกว่า วงจรไฟฟ้า ซึ่งในวงจรไฟฟ้านี้ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ลวดตัวนำ เครื่องใช้ไฟฟ้า
การต่อวงจรไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ได้ครบวงจร จากขั้วหนึ่งของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ผ่านลวดตัวนำเครื่องใช้ไฟฟ้า และกลับเข้าสู่อีกขั้วหนึ่งของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ เรียกว่า วงจรไฟฟ้าปิด


ถ่านไฟฉายแต่ละก้อนนั้น จะมีขั้วอยู่ 2 ขั้ว โดยส่วนบนของถ่านไฟฉายจะมีลักษณะนูนคล้ายปุ่ม เราเรียกว่า ขั้วบวก และส่วนที่อยู่ตรงข้ามกับขั้วบวก เรียกว่า ขั้วลบ
เมื่อเรานำสายไฟและหลอดไฟไปต่อเข้ากับถ่านไฟฉาย กระแสไฟฟ้าจะออกจากขั้วบวกของถ่านไฟฉายไปตามหลอดไฟและสายไฟและไหลผ่านกลับมายังถ่านไฟฉายตรงขั้วลบ ทำให้หลอดไฟสว่างได้
ข้อสังเกต : แบตเตอรี่ที่มีขายตามท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายชนิด และมีหลายลักษณะ การเลือกใช้ถ่านไฟฉายแบบธรรมดา ควรเลือกดังนี้
ถ่านไฟฉายสีแดง ใช้กับนาฬิกาปลุก รีโมท ของเล่น และวิทยุเทป
ถ่านไฟฉายสีเขียว ใช้กับไฟฉาย นาฬิกา และวิทยุทรานซิสเตอร์
ถ่านไฟฉายสีดำ ใช้กับกล้อง เกมกด และวิทยุเทปพกพา

ถ่านไฟชนิดต่างๆ
การเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น
เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทุกชนิด ล้วนได้รับพลังงานไฟฟ้าที่ส่งมาตามบ้านเหมือนกัน แต่ทำงานในลักษณะต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือ พลังงานไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นได้ เช่น
เปลี่ยนเป็นพลังงานเสียง พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานเสียง เช่น วิทยุ เทป กริ่งบ้าน
เปลี่ยนเป็นพลังงานแสง พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานแสง เช่น หลอดไฟฟ้าให้แสงสว่าง โคมไฟ แต่เมื่อเราเปิดไฟไว้สักพักหรือนานๆ เมื่อเรานำมือไปใกล้หลอดไฟจะรู้สึกร้อน แสดงว่า พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานแสงและพลังงานความร้อนได้
เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน เช่น เตารีด กาต้มน้ำ หม้อหุงข้าว เตาอบ กระทะไฟฟ้า ฯลฯ
เปลี่ยนเป็นพลังงานกล พลังงานกล คือ พลังงานที่เกิดขึ้นแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ เช่น วัตถุหมุน วัตถุเคลื่อนที่ แสดงว่าพลังงานไฟฟ้าสามารถทำให้ขดลวดในมอเตอร์หมุนได้ เช่น พัดลม ฯลฯ


                ดังนั้น เราจะเห็นว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง พลังงานเสียง พลังงานความร้อน พลังงานกลได้ โดยพลังงานเหล่านี้ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา

อย่างไรก็ตาม เมื่อไฟฟ้ามีประโยชน์ย่อมมีโทษเช่นกันถ้าเราใช้ไม่ระมัดระวัง
การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
   ไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปหนึ่งซึ่งปัจจุบันมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น จึงอาจเกิดการขาดแคลนไฟฟ้าได้ และเกิดอันตรายจาก ไฟฟ้าขึ้นได้ ถ้าผู้ใช้ไม่ระมัดระวัง และไม่รู้จักประหยัดไฟฟ้า เราสามารถใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยและประหยัด ได้ดังนี้
   ในการใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้ง ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดพร้อมๆ กัน
   ไม่ควรติดตั้งเต้ารับในระดับต่ำเกินไปที่เด็กสามารถเอื้อมมือจับเล่นได้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเด็ก
   ขณะที่มือเปียก ห้ามจับหรือเปิดสวิตซ์หรือเสียบปลั๊กไฟ เพราะจะทำให้ไฟดูดได้
   ไม่ควรซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้
   ไม่จับปลาโดยการนำไฟฟ้าไปช๊อตปลา
   ไม่ควรเล่นว่าวใกล้สายไฟ เพราะจะทำให้ไฟดูดได้
    ควรใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบผอม หรือหลอดตะเกียบประหยัดไฟเบอร์ 5
    ไม่ควร เปิด - ปิด ตู้เย็นบ่อยๆ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
    ควรรีดผ้าครั้งละหลายๆ ชิ้น
   ปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังที่ใช้งานเสร็จ
   หมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่สม่ำเสมอ
สรุปเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน คือ
   พลังงาน คือ ความสามารถที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือทำงานได้
   แหล่งกำเนิดพลังงานมี 2 ประเภท คือ พลังงานจากธรรมชาติ และพลังงานประดิษฐ์
   พลังงานธรรมชาติ คือ พลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ ดวงอาทิตย์
   พลังงานประดิษฐ์ คือ พลังงานที่แปรรูปมาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานเคมีในแบตเตอรี่ พลังงานกล ฯลฯ
   แสง เสียง ความร้อน เป็นพลังงาน
   พลังงานกลเป็นพลังงานที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่
   ไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นเราจึงควรรู้จักประหยัด และใช้ไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยมากที่สุด