พลังงานไฟ้ฟ้า
พลังงาน
คือ ความสามารถที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือทำงานได้ ดังนั้น การที่สิ่งที่มีชีวิต
เช่น คน สัตว์ สามารถเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด ยกสิ่งของ
หรือสามารถทำงานประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ จึงมีพลังงานเกิดขึ้น
พลังงานที่อยู่ในมนุษย์และสัตว์นั้นเกิดจากการที่เราได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปในร่างกาย
ประเภทของพลังงาน
แหล่งกำเนิดของพลังงานมี
2 ประเภท คือ
พลังงานจากธรรมชาติกับพลังงานประดิษฐ์
พลังงานจากธรรมชาติ
คือ พลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น พลังงานจากดวงอาทิตย์ พลังงานจากน้ำตก
พลังงานจากลม พลังงานจากสัตว์ ฯลฯ
![]() |
พลังงานจากธรรมชาตื |
พลังงานประดิษฐ์
คือ พลังงานที่มนุษย์แปรรูปมาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานไฟฟ้าตามบ้านเรือน
พลังงานไฟฟ้าเคมีในแบตเตอรี่
พลังงานกลซึ่งเป็นพลังงานที่เกิดจากวัตถุที่อยู่ในสภาพต่างๆ เช่น วัตถุหมุน
วัตถุเคลื่อนที่ ฯลฯ
พล้งงานประดิษฐ์ |
พลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า
คือ พลังงานที่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ตามอาคารสถานที่ สามารถใช้งานได้
เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต และเพื่อประโยชน์ในการใช้งานในด้านต่างๆ
เช่น ให้แสงสว่าง ให้ความร้อนในการหุงข้าวต้มอาหาร ให้ความอบอุ่นและความเย็น
หรือให้ความบันเทิง ฯลฯ
ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
หรือ ไฟฟ้าจากเซลไฟฟ้า
เป็นพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีและเป็นพลังงานที่มนุษย์สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้น
ซึ่งนำมาใช้งานได้เหมือนไฟฟ้าตามบ้านเรือน
ดังนั้น
เราจะเห็นว่า ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ก็สามารถทำให้ของเล่นของใช้ทำงานได้
เมื่อเราต่อหลอดไฟฟ้าเข้ากับแบตเตอรี่ก็จะให้แสงสว่างได้ แสดงว่า
ไฟฟ้าเป็นพลังงานเช่นเดียวกับไฟฟ้าตามบ้าน แต่สามารถเคลื่อนย้ายไปในที่ต่างๆ
ได้สะดวก รูปแบบของแบตเตอรี่มีความหลากหลายทั้งรูปแบบ และขนาดที่แตกต่างกันไป เช่น
แบตเตอรี่รถยนต์ ถ่ายไฟฉาย แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่นาฬิกาข้อมือ ฯลฯ
ตัวอย่างง่ายๆ
ได้แก่ แบตเตอรี่ที่เป็นถ่านไฟฉาย น้องๆ
มารู้จักกับเจ้าก้อนแบตเตอร์รี่ของถ่ายไฟฉาย ว่า ถ่าน 1
ก้อนนั้น มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ถ่ายไฟฉายมีส่วนที่สำคัญ
2 ส่วน
ส่วนภายนอก
ประกอบด้วย สังกะสีหรือพลาสติกหุ้มส่วนภายในไว้
ส่วนภายใน
ประกอบด้วย แท่งถ่าน ผงถ่าน และสารเคมีที่เป็นตัวนำไฟฟ้า
เมื่อต่อถ่านไฟฉายให้ครบวงจรจะเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นให้กระแสไฟฟ้า
จากนั้นเรามาดูการต่อหลอดไฟฟ้าเข้ากับแบตเตอรี่
การต่ออุปกรณ์ดังรูปนี้
เราเรียกว่า วงจรไฟฟ้า ซึ่งในวงจรไฟฟ้านี้ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3
ส่วน คือ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ลวดตัวนำ เครื่องใช้ไฟฟ้า
การต่อวงจรไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ได้ครบวงจร
จากขั้วหนึ่งของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ผ่านลวดตัวนำเครื่องใช้ไฟฟ้า
และกลับเข้าสู่อีกขั้วหนึ่งของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ เรียกว่า วงจรไฟฟ้าปิด
ถ่านไฟฉายแต่ละก้อนนั้น
จะมีขั้วอยู่ 2 ขั้ว
โดยส่วนบนของถ่านไฟฉายจะมีลักษณะนูนคล้ายปุ่ม เราเรียกว่า ขั้วบวก
และส่วนที่อยู่ตรงข้ามกับขั้วบวก เรียกว่า ขั้วลบ
เมื่อเรานำสายไฟและหลอดไฟไปต่อเข้ากับถ่านไฟฉาย
กระแสไฟฟ้าจะออกจากขั้วบวกของถ่านไฟฉายไปตามหลอดไฟและสายไฟและไหลผ่านกลับมายังถ่านไฟฉายตรงขั้วลบ
ทำให้หลอดไฟสว่างได้
ข้อสังเกต
: แบตเตอรี่ที่มีขายตามท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายชนิด และมีหลายลักษณะ
การเลือกใช้ถ่านไฟฉายแบบธรรมดา ควรเลือกดังนี้
ถ่านไฟฉายสีแดง
ใช้กับนาฬิกาปลุก รีโมท ของเล่น และวิทยุเทป
ถ่านไฟฉายสีเขียว
ใช้กับไฟฉาย นาฬิกา และวิทยุทรานซิสเตอร์
ถ่านไฟฉายสีดำ
ใช้กับกล้อง เกมกด และวิทยุเทปพกพา
![]() |
ถ่านไฟชนิดต่างๆ |
การเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น
เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทุกชนิด
ล้วนได้รับพลังงานไฟฟ้าที่ส่งมาตามบ้านเหมือนกัน แต่ทำงานในลักษณะต่างๆ
ที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือ พลังงานไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นได้ เช่น
เปลี่ยนเป็นพลังงานเสียง
พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานเสียง เช่น วิทยุ เทป กริ่งบ้าน
เปลี่ยนเป็นพลังงานแสง
พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานแสง เช่น หลอดไฟฟ้าให้แสงสว่าง โคมไฟ
แต่เมื่อเราเปิดไฟไว้สักพักหรือนานๆ เมื่อเรานำมือไปใกล้หลอดไฟจะรู้สึกร้อน
แสดงว่า พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานแสงและพลังงานความร้อนได้
เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน เช่น เตารีด กาต้มน้ำ หม้อหุงข้าว เตาอบ
กระทะไฟฟ้า ฯลฯ
เปลี่ยนเป็นพลังงานกล
พลังงานกล คือ พลังงานที่เกิดขึ้นแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ เช่น วัตถุหมุน
วัตถุเคลื่อนที่ แสดงว่าพลังงานไฟฟ้าสามารถทำให้ขดลวดในมอเตอร์หมุนได้ เช่น พัดลม
ฯลฯ
ดังนั้น
เราจะเห็นว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง
พลังงานเสียง พลังงานความร้อน พลังงานกลได้
โดยพลังงานเหล่านี้ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา
อย่างไรก็ตาม
เมื่อไฟฟ้ามีประโยชน์ย่อมมีโทษเช่นกันถ้าเราใช้ไม่ระมัดระวัง
การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
ไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปหนึ่งซึ่งปัจจุบันมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
จึงอาจเกิดการขาดแคลนไฟฟ้าได้ และเกิดอันตรายจาก ไฟฟ้าขึ้นได้
ถ้าผู้ใช้ไม่ระมัดระวัง และไม่รู้จักประหยัดไฟฟ้า เราสามารถใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยและประหยัด
ได้ดังนี้
ในการใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้ง
ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดพร้อมๆ กัน
ไม่ควรติดตั้งเต้ารับในระดับต่ำเกินไปที่เด็กสามารถเอื้อมมือจับเล่นได้
เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเด็ก
ขณะที่มือเปียก
ห้ามจับหรือเปิดสวิตซ์หรือเสียบปลั๊กไฟ เพราะจะทำให้ไฟดูดได้
ไม่ควรซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้
ไม่จับปลาโดยการนำไฟฟ้าไปช๊อตปลา
ไม่ควรเล่นว่าวใกล้สายไฟ
เพราะจะทำให้ไฟดูดได้
ควรใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบผอม
หรือหลอดตะเกียบประหยัดไฟเบอร์ 5
ไม่ควร
เปิด - ปิด ตู้เย็นบ่อยๆ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
ควรรีดผ้าครั้งละหลายๆ
ชิ้น
ปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังที่ใช้งานเสร็จ
หมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่สม่ำเสมอ
สรุปเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน
คือ
พลังงาน
คือ ความสามารถที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือทำงานได้
แหล่งกำเนิดพลังงานมี
2 ประเภท คือ พลังงานจากธรรมชาติ
และพลังงานประดิษฐ์
พลังงานธรรมชาติ
คือ พลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ ดวงอาทิตย์
พลังงานประดิษฐ์
คือ พลังงานที่แปรรูปมาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานไฟฟ้า
พลังงานเคมีในแบตเตอรี่ พลังงานกล ฯลฯ
แสง
เสียง ความร้อน เป็นพลังงาน
พลังงานกลเป็นพลังงานที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่
ไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างมาก
ดังนั้นเราจึงควรรู้จักประหยัด และใช้ไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น